V.N.COMMERCIAL2013 LIMITED PARTNERSHIP
 
       สินค้า      
 ผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ
  » กระดาษชำระม้วนเล็ก
  » กระดาษชำระ JRT 1ชั้น
  » กระดาษชำระ JRT 2ชั้น
  » กระดาษเช็ดมือแบบแผ่น
  » กระดาษเช็ดหน้ากล่อง
  » กระดาษเช็ดปากป๊อปอัพ
  » กระดาษอเนกประสงค์
  » กล่องใส่กระดาษชำระ
 ผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาด
  » ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
  » ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือ
  » ผลิตภัณฑ์น้ำยาปรับผ้านุ่ม
  » ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น
  » ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน
  » ผลิตภัณฑ์ล้างสุขภัณฑ์
  » ผลิตภัณฑ์น้ำยาเช็ดกระจก
  » ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำ
  » กล่องจ่ายสบู่เหลว
 ผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก
 ผลิตภัณฑ์กรวยน้ำดื่ม
 ผลิตภัณฑ์ถุงขยะพลาสติก
  » ผลิตภัณฑ์ถุงขยะดำ
  » ถังขยะพลาสติกทรงกลม
  » ถังขยะพลาสติกทรงเหลี่ยม
  » ถังขยะพลาสติกเท้าเหยียบ
  » ถังขยะใหญ่พร้อมล้อเข็ญ
  » ถังขยะสแตนเลส
  » ถังขยะแบบใส
 อุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ
  » ทำความสะอาดภายใน
  » ทำความสะอาดภายนอก
  » สก๊อตตไบร์ท 3M
  » น้ำหอมปรับอากาศ
วันนี้ 17
เมื่อวาน 126
สัปดาห์นี้ 771
สัปดาห์ก่อน 864
เดือนนี้ 1,706
เดือนก่อน 3,869
ทั้งหมด 283,902
  Your IP :18.97.14.87
      ถาม-ตอบ      
(ข่าวสาร) การใช้ กระดาษทิชชู่ ซับน้ำมัน อันตรายจริงหรือ?
จากข่าวที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ออกมาเตือนประชาชนห้ามให้ กระดาษทิชชู่ ซับน้ำมันจากอาหาร เพราะเสี่ยงรับโซดาไฟและสารไดออกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งนั้น ทำให้มีการแชร์และกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากในสังคมออนไลน์ มีความคิดเห็นหลากหลายและแตกต่าง ว่าข่าวนี้เป็นเรื่องจริงหรือ?

โดย ดร.นพ.พรเทพ ได้ออกมากล่าวไว้ว่า สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ เมื่อทำปฏิกิริยากับโปรตีนและไขมัน จะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อรุนแรง ทำให้บริเวณนั้นอ่อนนุ่มกลายเป็นวุ้นหรือเจลาตินและสบู่ เนื้อเยื่อถูกทำลายหรือถูกกัดลึกลงไป ซึ่งการทำลายอาจต่อเนื่องหลายวัน การหายใจเอาไอหรือละอองสารยังส่งผลให้ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้จาม ปวดคอ น้ำมูกไหล ปอดอักเสบรุนแรง หายใจขัด การสัมผัสถูกผิวหนังจะระคายเคืองรุนแรง เป็นแผลไหม้และพุพองได้ การกลืนกินทำให้แสบไหม้บริเวณปาก คอ และกระเพาะอาหาร ส่วนสารไดออกซิน (dioxins) เป็นสารที่สถาบันวิจัยมะเร็งระหว่างชาติจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปจะไม่ทำให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน แต่อาการจะค่อยๆ เกิดและเพิ่มความรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้

ข่าวดังกล่าวทำให้ชาวสังคมออนไลน์ตั้งข้อสงสัยกันเป็นอย่างมากว่า การใช้ กระดาษทิชชู่ ซับน้ำมันจากอาหารทำให้เป็นมะเร็งได้จริงๆหรือ? จนกระทั่งมีนักวิทยาศาสตร์ คือ ดร.ภูวดี ตู้จินดา กลุ่มเยื่อและกระดาษ โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ออกมาบอกถึงขั้นตอนการทำ กระดาษทิชชู่ ผ่านเฟสบุคส่วนตัวของ ดร.ภูวดี ตู้จินดา เอง โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

จากที่มีข่าวเตือนเรื่องการใช้ ?ทิชชู่? ซับน้ำมันอาหารนั้นเสี่ยงต่อการรับสารไดออกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งนั้น ขออนุญาตแจ้งข้อเท็จจริงดังนี้ค่ะ

1. การฟอกเยื่อขาวที่จะทำให้เกิดสารไดออกซินนั้น จะเป็นการฟอกเยื่อด้วยสารคลอรีนหรือ Cl2 เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงฟอกเยื่อที่ใช้วิธีการฟอกแบบนี้เพียง 1 โรงเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศทางทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาได้มีการห้ามใช้วิธีการฟอกเยื่อแบบนี้มาหลายปีแล้ว

2. การฟอกเยื่อขาวปัจจุบันส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้สารประกอบคลอรีน คือ คลอรีนไดออกไซด์ (ClO2) ซึ่งการฟอกเยื่อด้วยสารประกอบคลอรีนทำให้เกิดสารพิษคือ Organically bound chlorine หรือที่รู้จักกันในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษว่า AOX แต่ **ไม่เกิดไดออกซิน** ในกระบวนการฟอกเยื่อ

3. ปริมาณไดออกซินแปรผันตรงกับปริมาณ AOX ค่ะ ซึ่งดิฉันและ Korpong Hongsri ได้เคยทำโครงการวิจัย และมีข้อมูลสาร AOX ตกค้างในเยื่อและกระดาษ มีตัวเลขจากการวิจัยยืนยันว่า ใน กระดาษทิชชู่ นั้น มีปริมาณ AOX ตกค้างน้อยมาก ซึ่งแน่นอนว่า ปริมาณไดออกซินยิ่งน้อยลงไปอีก

** ไม่มีห้องปฏิบัติการที่สามารถวิเคราะห์ปริมาณไดออกซินในประเทศไทย ใกล้ที่สุดที่จะส่งไปวิเคราะห์หาปริมาณไดออกซินได้คือที่ประเทศสิงคโปร์ค่ะ การใช้ปริมาณ AOX เป็นตัวอ้างอิงถึงปริมาณไดออกซิน ((หากมี)) จึงเป็นที่ยอมรับได้ในระดับหนึ่ง

4. สารไดออกซินและ AOX ไม่ได้หลุดออกจาก กระดาษทิชชู่ ได้ง่ายๆ การสกัดเพื่อการวิเคราะห์ยังต้องสกัดที่อุณหภูมิสูง แค่เอา กระดาษทิชชู่ มาซับๆ มัน ไม่หลุดตามออกมาหรอกค่ะ

5. มีการใช้โซเดียมไฮดร็อกไซด์ NaOH ในขั้นตอนการฟอกเยื่อขาว แต่กรรมวิธีการผลิตเยื่อกระดาษนั้นมีหลายขั้นตอน และใช้ ?น้ำ? ปริมาณมากในการล้างสารต่างๆ ดังนั้นจึงไม่มีโซเดียมไฮดร็อกไซด์บริสุทธิ์ตกค้างในปริมาณที่จะก่อให้เกิดอันตราย

จากที่มีคำถามมามากมาย ขออนุญาตให้รายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ

สารพิษที่เป็นข่าวอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นไดออกซินหรือโซเดียมไฮดร็อกไซด์ ไม่ได้เกิดขึ้นหรือถูกใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษค่ะ แต่ถูกใช้ในกระบวนการฟอกเยื่อ

ขออธิบายง่ายๆ ดังนี้ค่ะ เยื่อกระดาษผลิตจากไม้ ? ไม้มีสารยึดเกาะเรียกว่า ?ลิกนิน (lignin)? ซึ่งเป็นสารสีน้ำตาล ? กระบวนการฟอกเยื่อคือการกำจัดสารลิกนินนี้ เพื่อให้เยื่อกระดาษมีความขาว ที่จะนำไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษอนามัย หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า ?ทิชชู่?

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นทิชชู่เกรดไหน ก็ใช้วัตถุดิบเดียวกันนี้ค่ะ คือ ?เยื่อกระดาษ? ? สำหรับทิชชู่รีไซเคิล ก็มีวัตถุดิบเป็นกระดาษที่เคยใช้แล้ว เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษพิมพ์เขียน นำมาผ่านกระบวนการต่างๆ เผื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมและนำเยื่อกระดาษเวียนไปใช้ใหม่ ? กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับโรงงานว่า ทำอย่างละเอียดและมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน

กระบวนการฟอกเยื่อมีหลายขั้นตอนค่ะ โรงงานแต่ละแห่งจะใช้ขั้นตอนแตกต่างกัน แต่โดยรวมๆ แล้ว จะมีขั้นตอนการใช้โซเดียมไฮดร็อกไซด์อยู่ในนั้นด้วย ซึ่งหลังจากเกิดปฏิกิริยาเคมีกับลิกนินจนแปลงร่างแล้ว ยังมีขั้นตอนการ ?ล้าง? เยื่ออีกมากมาย ดังนั้นการจะมีโซเดียมไฮดร็อกไซด์บริสุทธิ์ถึงขนาดก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพปนเปื้อนอยู่ในเยื่อกระดาษว่าน้อยแล้ว กว่าจะเป็นกระดาษอนามัย จะยิ่งน้อยขนาดไหน ลองคิดตามดูนะคะ

สารฟอกเยื่อที่ใช้ในการขจัดลิกนินที่เป็นที่นิยมอีกตัวก็คือ คลอรีน และ สารประกอบคลอรีน หรือ คลอรีนไดอ็อกไซด์

การใช้คลอรีนเป็นส่วนหนึงในกระบวนการฟอกเยื่อนั้น ทำให้เกิดไดออกซินแน่นอนค่ะ แต่ๆๆๆๆ เพราะมีเหตุว่าเกิดไดออกซินนี่แหละ จึงมีการห้ามใช้คลอรีนในการฟอกเยื่อในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทย โรงฟอกเยื่อก็ปรับเปลี่ยนกระบวนการนี้ออกจนเกือบหมดแล้ว เหลือเพียง 1 โรงอย่างที่กล่าวไป

สารที่นำมาใช้แทนคลอรีนในการฟอกเยื่อคือ สารประกอบคลอรีน ที่ใช้กันคือ คลอรีนไดออกไซด์ ซึ่งโรงงานฟอกเยื่อเกือบทั้งหมดในประเทศไทยใช้สารนี้กันค่ะ ? การฟอกเยื่อด้วยสารประกอบคลอรีน ทำให้เกิดสารพิษที่เรียกสั้นๆ ว่า AOX แต่ **ไม่เกิดไดออกซิน** ค่ะ

ดังนั้น?อยากให้ทุกท่านพิจารณากันนะคะว่า เมื่อ ?เยื่อกระดาษ? ซึ่งเป็นวัตถุดิบไม่มีโซเดียมไฮดร็อกไซด์ และ((แทบ))ไม่มีไดอ็อกซิน ตัวผลิตภัณฑ์กระดาษนั้นจะมีได้อย่างไร?

สรุปว่า?กระดาษอนามัยหรือทิชชู่นั้น?ควรใช้ให้ถูกตามวัตถุประสงค์ในการผลิตค่ะ คือ ?ใช้ภายนอก? ? มันไม่ใช่ของกินอะค่ะ ดังนั้นขนมจีนน้ำยาใส่ทิชชู่นี่?ไม่ควรนะคะ

สำหรับการซับน้ำมัน ถ้าถามว่า มันถูกวัตถุประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ทิชชู่มั้ย ก็ตอบว่า?ไม่ใช่นะคะ แต่?ถ้าถามว่า เอาทิชชู่ไปซับน้ำมันแล้วจะมีไดออกซินหลุดออกมาหรือมีโซเดียมไฮดร็อกไซด์มาทำลายเนื้อเยื่อ ? มันก็ไม่ใช่อะค่ะ

จากการอธิบายของ ดร.ภูวดี ตู้จินดา สรุปได้ง่ายๆก็คือ การผลิต กระดาษทิชชู่ ที่จะทำให้เกิดสารไดออกซิน ตามที่กรมอนามัยได้ออกมาบอกนั้น มีเหลือแค่โรงงานเดียวเท่านั้น เพราะโรงงานส่วนมากยกเลิกการผลิตแบบนี้ไปแล้ว มีวิธีการผลิตแบบใหม่ที่ทำให้ กระดาษทิชชู่ ไม่มีสารไดออกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งสะสมอยู่ และสารไดออกซินและ AOX ก็ไม่ได้หลุดออกจากกระดาษทิชชู่ได้ง่ายๆเช่นกัน เพียงแต่นำมาซับน้ำมันก็ไม่ได้ทำให้สารเหล่านี้หลุดออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้

ทั้งนี้ ในการเลือกรับประทานอะไรก็ตาม ผู้บริโภคเองก็ควรใช้วิจารณญาณในการเลือกสิ่งที่ดี ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของตนเอง หากเราไม่ดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองแล้ว ก็คงไม่มีใครที่จะสามารถมาดูแลสุขภาพร่างกายของเราได้เช่นกัน

เครดิต: เรื่องโดย
ขอบคุณที่มาจาก : กรมอนามัย 
Ice Tuchinda (เฟสบุคของดร.ภูวดี ตู้จินดา)
Web MThai : http://health.mthai.com/health-news/6004.html
Post by : Sushada.ch
 
กระดาษทิชชูต้องการที่นุ่มๆ อย่างเดียวหรือไม่
มีหลายท่านที่คิดว่ากระดาษทิชชูต้องเอาแบบที่นุ่มๆ ถึงจะมีคุณภาที่ดี ซึ่งจริงๆแล้วการเลือกกระดาษทิชชูตามคุณลักษณะนุ่ม, หยาบ หรือเปื่อยยุ่ย ควรพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้มากกว่า เพราะคุณลักษณะกระดาษนั่น การใช้ในกิจกรรมต่างๆ ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป เช่น กรณีที่เราเลือกใช้ในการเช็ดหน้ากระดาษทิชชูที่มีความนุ่มย่อมเหมาะที่สุดกับการใช้งาน แต่ถ้าเรานำกระดาษทิชชูคุณลักษณะเดียวกันนี้ ไปใช้ในห้องสุขา อาจทำให้เราพบปัญหาการอุดตันของท่อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกระดาษที่มีความนุ่มจะเปื่อยยุ่ยยาก เมื่อเราทิ้งลงชักโครกจึงก่อให้เกิดการอุดตันได้มากกว่ากระดาษที่มีความเปื่อยยุ่ยง่าย เป็นต้น   
อะไรคือ กระดาษทิชชู (ทิชชู)
กระดาษทิชชู  หรือที่คนไทยส่วนใหญ่เรียกสั้นๆกัน ว่าทิชชูนั่น เป็นกระดาษที่ผลิตจากเยื่อกระดาษ เพื่อที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ 
-. ใช้ซับน้ำบนใบหน้าไม่ว่าจะเป็น เหงื่อจากการออกกำลังกาย, น้ำหลังจากการหลังหน้า
-. ใช้เช็ดคราบอาหารตามมุมปาก
-. ใช้เช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรก 
-. ใช้ทำ Paper Mache
นอกจากที่กล่าวมาในข้างต้นนั่น เป็นเพียงส่วนน้อยที่ผู้คนใช้ประโยชน์จากกระดาษทิชชู ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เพื่อให้เข้าใจประโยชน์การใช้สอยให้มากขึ้น ได้ดังนี้
1. กระดาษเช็ดหน้า (facial tissue) เป็นกระดาษทิชชูที่มีคุณสมบัติความเหนียว นุ่มเพื่อป้องกันการเปื่อยยุ้ย ในขนาดซับน้ำบนในหน้า
2. กระดาษเช็ดมือ (paper hand towel) เป็นกระดาษทิชชูที่ใช้แทนผ้า ในการเช็ดมือหรือเช็ดปาก
3. กระดาษเช็ดปาก(table napkins) เป็นกระดาษทิชชูที่ใช้แทนผ้า ในการเช็ดมือหรือเช็ดปาก
4. กระดาษชำระอเนกประสงค์ (paper towels) เป็นกระดาษทิชชูที่นิยมใช้ในงานบ้านต่างๆ ทั่วไป
5. กระดาษชำระ (toilet paper) เป็นกระดาษทิชชูที่นิยมใช้เฉพาะในห้องน้ำหรือห้องสุขา มีคุณสมบัติเปื่อยยุ้ย ง่าย เมื่อโดนน้ำ เพื่อลดภาวการณ์อุดตันในท่อระบายน้ำ
 
(บทความ) ลดภาวะโลกร้อน : การใช้ทิชชู
กระดาษทิชชูเป็นของใช้ที่คนทั่วไปรู้สึกว่าขาดไม่ได้ในเกือบทุกกิจกรรมของชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เช็ดหน้า เช็ดก้น สั่งขี้มูก ซับน้ำตา ฯลฯ กระทั่งจะเช็ดน้ำหวานที่หกลงพื้น ก็ยังอุตส่าห์ใช้ทิชชูเช็ด (ทำไมนะ?)

แต่ในขณะเดียวกัน ช่วงเวลาที่ทิชชูรับใช้เราช่างแสนสั้น อาจจะนับ 1 ไม่ถึง 3 เสียด้วยซ้ำ เหล่าทิชชูก็หมดหน้าที่และไปกองรวมกันอยู่ก้นถังขยะในฐานะขยะติดเชื้อ โดยที่เราไม่อยากจะเหลียวมองมันอีกเลยด้วยซ้ำ นับเป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานแสนสั้นเสียยิ่งกว่าถุงพลาสติกใส่กับข้าว
กระดาษทิชชูจัดเป็นวัสดุสิ้นเปลืองในภัตตาคาร โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ฯลฯ และน่าจะเป็นของฟุ่มเฟือยมากสำหรับคนในชนบท
สำหรับคนเมืองอย่างเรา อาจนับกระดาษทิชชูเป็นของจำเป็น หายากที่สาวๆ จะไม่พกทิชชู ห้องน้ำตามห้างเดี๋ยวนี้ก็แทบจะไม่มีอีกแล้ว ที่ไม่มีกระดาษทิชชูให้บริการ

ปี 2552 คนไทยเสียสตางค์ซื้อทิชชู (กระดาษชำระ + กระดาษเช็ดหน้า + กระดาษทิชชูอเนกประสงค์ +กระดาษเช็ดปาก) ไป 4,300 ล้านบาท และน่าจะซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ว่ากระดาษทิชชูเกือบทั้งหมดในบ้านเราผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ นั่นหมายความว่ามันทำมาจากต้นไม้เป็นๆ จำนวนมหาศาลน่ะซี้
ไม่ใช่แต่การตัดต้นไม้ การผลิตสินค้าใดๆ ย่อมต้องใช้พลังงาน น้ำ สารเคมี แถมยังปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อมอีก น้อยคนนักจะรู้ว่าอุตสาหกรรมผลิตกระดาษทั้งหมดส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ก่อมลพิษทางน้ำ อากาศ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 3 ของภาคอุตสาหกรรม แถมยังใช้คลอรีนในการฟอกขาว ซึ่งมีไดออกซิน? สารก่อมะเร็งเป็นส่วนประกอบ

ยิ่งกระดาษที่นุ่มหนาเป็นพิเศษ ยิ่ง ?ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถใหญ่ที่ซดน้ำมัน ฟาสต์ฟู้ด และคฤหาสน์จัดสรร (McMansions) ในแง่การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตเยื่อและการตัดไม้ทำลายป่า? ? โค้ดคำพูดจากนักข่าวสิ่งแวดล้อมของหนังสือพิมพ์ guardian.co.uk
นักข่าวฝรั่งบางคนถึงกับบอกว่า ?ความนุ่มของกระดาษทิชชู =การทำลายสิ่งแวดล้อม? ...ก็ถูกของเขานะ

บริษัทผลิตกระดาษชำระไม่จำเป็นต้องตอกย้ำผู้บริโภคว่าเราจำเป็นต้องใช้มันอีกแล้ว แต่บอกเราว่าทิชชูที่เราใช้ ?ต้องขาว นุ่ม พิมพ์ลาย? ยิ่งถ้าปลอดภัยไร้แบคทีเรียอย่างสิ้นเชิงได้ ยิ่งนับเป็นของดี ซึ่งเอาเข้าจริง ผู้บริโภคอย่างเราจะตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยตัวเองได้อย่างไร หรือถ้ามีสารต้านเชื้อโรคผสมอยู่จริง สารนั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อเราหรือ หรือก้นเราจะเข้าใจเรื่องขาวนุ่มพิมพ์ลายได้แค่ไหนกันแน่

คุณโรส ป้าขอรับรองว่ามีผู้หญิงหลายคนในโลกนี้ที่อยู่ได้โดยไม่ต้องใช้กระดาษชำระ และบางครั้งเมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ ?ปวดฉี่แต่ไม่มีทิชชู? เราก็เอาตัวรอดมาได้ใช่ไหม ลองถามเพื่อนสาวรอบตัวดู เราก็อาจพบว่ามีบางคนที่ทำอย่างนั้นเป็นปรกติ โดยไม่มีปัญหาเรื่องสุขอนามัยของจุดซ่อนเร้น
ถ้านั่นเป็นเรื่องสุดโต่งเกินไป เราช่วยกันลดการใช้กระดาษทิชชูก็ได้นี่นะ แทนที่จะสาวๆๆ จนพันเต็มมือ ก็สาวหนเดียวพอ จากที่ใช้ 4 ช่อง ก็เหลือ 3 ช่อง ก็ใช้ได้สบายๆ หรือจะให้ท้าทาย ก็ลองลดให้น้อยกว่านั้นดู บางบ้าน สาวๆ อาจแขวนผ้าขนหนูผืนน้อยนุ่มนิ่มเอาไว้ใช้ส่วนตัว แทนกระดาษทิชชู วันหนึ่งใช้ได้หลายครั้ง แถมไม่ต้องทิ้ง แค่ซักแล้วตากแดด ก็สะอาดเพียงพอแล้ว หรือถ้าต้องซื้อ ลองเดินหาดูทิชชูที่ทำมาจากเยื่อกระดาษเวียนใช้ใหม่ (secondary pulp) ในเมืองไทยมีน้อยมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มี แค่สีไม่ขาวจั๊วะ แพ็กเกจไม่สวย แต่มันก็ใช้งานได้เหมือนทิชชูทั่วไปนะ 

มีบางยี่ห้อที่ช่วยแจกแจงบนบรรจุภัณฑ์ว่า ถ้าหากใช้กระดาษที่ทำจากเยื่อเวียนใช้ใหม่ 1 ตัน แทนการใช้กระดาษที่ผลิตจากเยื่อบริสุทธิ์ เราจะ ?อนุรักษ์ต้นไม้ได้ 17 ต้น | ประหยัดน้ำ 26,500 ลิตร| ประหยัดไฟฟ้า 4 ล้านวัตต์ | ลดการใช้น้ำมัน 378 ลิตร| ลดมลพิษทางอากาศ 27.5 กิโลกรัม| ลดพื้นที่การฝังกลบ 2.75 ลูกบาศก์เมตร| ลดการใช้สารเคมีและการฟอกสี 19 กิโลกรัม? อันเป็นตัวเลขจากUnited States Environmental Protection Agency

ลองแอบไปตามหาไหมว่าเป็นกระดาษทิชชูยี่ห้อไหนของเมืองไทย
นอกจากกระดาษชำระในห้องน้ำ เรายังลดการใช้ทิชชูในร้านอาหาร ร้านไอศกรีม และร้านขนมต่างๆ ได้ด้วยการงดรับและงดใช้ และหันมาพกผ้าเช็ดหน้าแทน          

เครดิต: เรื่องโดย
เขียนโดย สาลินี ชุมกลิ้ง
ที่มา:http://www.greenworld.or.th/ 
(บทความ) Paper never die กระดาษไม่มีวันตาย
Paper never die กระดาษไม่มีวันตาย

กระดาษจำเป็นต่อชีวิตประจำวันมากสิ่งของแต่ละอย่างล้วนเป็นกระดาษทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเงิน ปฎิทิน รูป  แนวคิดที่ว่ากระดาษไม่มีวันตาย กระดาษสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด  กระดาษที่ใช้แล้วสามารถนำมาแปรรูปกลับมาใช้เป็นกล่องกระดาษ ผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย

วิธีการทำกระดาษ
กระดาษทำมาจากต้นยูคาซึ้งมีคุณสมบัติเส้นใยสั้น ทำให้เยื้อกระดาษสม่ำเสมอทำให้กระดาษมีลักษณะเรียบสวย ต้นยูคาที่ใช้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า3นิ้วขึ้นไป  1ต้นมีน้ำหนัก100กิโลกรัม สามารถผลิตกระดาษได้1ริม
1.นำไม้ยูคาไปปลอกเปลือกและทำความสะอาด เปลือกไม้จะนำไปใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิง
2.นำไม้ไปสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
3.นำไม้ที่สับมาแยกเยื้อกับยางออกจากกัน โดยผ่านกระบวนการต้มเยื้อ โดยการผสมชิ้นไม้สับกับสารเคมีไวท์ลิทเธอร์(white liquor) ซึ่งมีคุณสมบัติแยกเยื้อไม้และยางดำออกจากเนื้อไม้จะได้เยื้อกระดาษ ยางไม้ที่แยกออกมาจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง (น้ำมันดำ) ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับเปลือกไม้ โดยการต้มในอุณหภูมิ 150 องศา ใช้เวลา4-5 ชั่วโมง
4.เยื้อที่ผ่านการต้มหลังจากที่แยกน้ำมันดำออกแล้ว จะได้เยื้อกระดาษที่มีลักษณะยุ่ยๆสีน้ำตาล ก่อนที่จะผ่านการฟอกหรือไวท์เทรนนิ่ง เพื่อให้เป็นเยื้อสีขาว โดยการใช้ออกซิเจนทรอรินไดออกไซต์และน้ำปริมาณ 6-7 ลูกบาศเมตรต่อเยื้อ1ตัน หรือจนกว่าจะได้เยื้อที่ขาวสว่างประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์
5.เมื่อเยื้อน้ำแล้วจะถูกแบ่งออกเป็น2ทาง ส่วนที่1จะเดินทางไปโรงงานผลิตกระดาษ ส่วนที่2จะส่งออกนอกโรงงานเพื่อแปรรูป แต่ก่อนที่จะส่งออกนอกโรงงานจะต้องทำให้เยื้อน้ำเป็นเยื้อแห้งก่อน โดยการทำให้เยื้อน้ำเป็นแผ่นกว้าง 4.2 เมตร จากนั้นเครื่องจะมำการดูดน้ำออกจากเยื้อที่ขึ้นรูปแล้วผ่านการกดด้วยลูกลิ้งเพื่อรีดน้ำออก ผ่านการซับน้ำเข้าเครื่องอบประมาณ5-7นาที เป็นเยื้อสีขาวแห้งสนิท

เยื้อส่วนที่1 จะเดินทางไปยังโรงงานผลิตกระดาษ ใช้เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ในการขึ้นรูป ใช้ความละเอียดมากกว่าในการเรียงเยื้อให้สม่ำเสมอ จากนั้นดูดซับและอบให้แห้ง สิ่งที่จะทำให้กระดาษหน้าตาต่างกันขึ้นอยู่กับสูตรทางเคมีที่จะทำให้เนื้อกระดาษมีคุณสมบัติขาวเนียน เนื้อละเอียด เรียบมัน หลักๆจะมีการเติมปูนขาวและแป้งมันเพื่อปรับสภาพผิวและสภาพสี ให้เกิดความเรียบ ลื่น และมัน เมื่อได้กระดาษแล้วจะนำกระดาษม้วนใหญ่นำไปตัด โดยผ่านเครื่องกรอจะได้กระดาษตามขนาดที่ต้องการ

การตรวจสอบคุณภาพกระดาษ สามารถสังเกตุได้จากเนื้อกระดาษที่ขาวเนียน เยื้อเรียงตัวสม่ำเสมอ ทึบแสงเมื่อมองผ่าน เอามือรูปกระดาษต้องเรียบเสมอไม่มีฝุ่น มีความชื้นได้มาตรฐาน ขอบกระดาษทุกด้สนจะต้องเรียบคม

เยื้อแห้ง จะนำมาทำเป็นกระดาษทิชชู่ กระดาษทิชชู่แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.กระดาษชำระ เป็นกระดาษม้วนเล็กๆไปจนถึงม้วนใหญ่ที่ใช้ในห้องน้ำสาธารณะ
2.กระดาษเช็ดหน้า มีคุณสมบัติในเรื่องของความนุ่มที่ดีกว่ากระดาษชำระทั่วไป
3.กระดาษเช็ดปาก
4.กระดาษอเนกประสงค์ ใช้ในครัวมีความเหนียวซึมซับน้ำได้ดี

กระบวนการผลิตกระดาษทิชชู่
คุณสมบัติหลักของกระดาษทิชชู่คือ ค่าความขาวสว่างที่ได้มาตรฐาน โดยการเตรียมเยื้อ
1.นำเยื้อแผ่นมาตีให้เป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับสารเคมีตามสูตรของดรงงาน
2.เยื้อที่ผสมเสร็จแล้วจะถูกปั้มให้ไหลไปยังเครื่องขึ้นแผ่นกระดาษ โดยมีเจ้าหน้าควบคุมการทำงานของเครื่อง

ขั้นตอนการขึ้นแผ่นกระดาษ
ทำการฉีดเยื้อเข้าไปในสายผ่านที่มีตะแกรงอยู่ด้านหนึ่ง เมื่อฉีดเข้าไปแล้วน้ำจะลอดจากตะแกรง เยื้อที่มีขนาดใหญ่จะติดตะแกรงเพื่อเข้าสู่กระบวนการการอบด้วยลูกอบ ก็จะได้กระดาษทิชชู่ม้วนใหญ่
ข้อแตกต่างของกระบวนการทำกระดาษกับกระดาษทิชชู่คือ กระดาษทิชชู่แตกต่างจากกระดาษทั่วไปจะมีรอยย่น เป็นคุณสมบัติทำให้กระดาษทิชชู่มีความนุ่มขึ้น ซึมซับได้มากขึ้น
พอได้กระดาษทิชชู่ม้วนใหญ่จะทำการเทสกระดาษที่ได้มาสุ่มเพื่อทดสอบคุณภาพ โดยการตัดกระดาษให้ได้ขนาด 20*25 เซนติเมตร จำนวน 20 ชิ้น นำไปชั่งน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐานที่ได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งกำหนดว่า 1 ตารางเมตรต้องมีน้ำหนัก 16 กรัม วัดค่าความขาวสว่าง วัดค่าความเหนียวนุ่ม หลังจากตรวจสอบคุณภาพก็จะนำไปย่อส่วนเป็นกระดาษทิชชู่ม้วนเล็กๆ ปั้มลวดลายเพื่อความเหนี่ยวนุ่มและความสวยงาม กระดาษทิชชู่ม้วนใหญ่ 1 ม้วน จะทำกระดาษทิชชู่ม้วนเล็กได้ 2 หมื่นม้วน หลังจากนั้นทิชชู่จะเข้ากระบวนการบรรจุหีบห่อ ตีตราผลิตภัณฑ์ และนำออกขายสู่ท้องตลาด

กระดาษที่ใช้แล้ว
กระดาษที่ใช้แล้วจะนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยการรีไซเคิล ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสาร กระดาษเล่ม กระดาษขาวดำ กล่อง กระดาษลัง และกระดาษจั๊บจั๊ว (เป็นกระดาษหลายประเภทรวมกัน รวมถึงกรดาษทิชชู่ที่ใช้แล้ว) เมื่อได้กระดาษมาแล้วจะทำการแยกกระดาษเป็น2ประเภท 1.กระดาษขาวดำ 2.กระดาษจั๊บจั๊ว

กระดาษจั๊บจั๊ว(ทำเป็นกล่องกระดาษ)
ขั้นตอนการทำ
1.คัดพลาสติก เชือก สิ่งที่ไม่ใช้กระดาษออกให้เหลือแต่กระดาษล้วนๆ
2.อัดกระดาษเป็นก้อน 600-700กิโลกรัม เพื่อลดพื้นที่ในการบรรทุกขนส่ง เพื่อไปโรงงานรีไซเคิล
3.กระดาษ เมื่อไปถึงที่โรงงานจะมีการตรวจสอบคุณภาพกระดาษ โดยใช้เครื่องมือวัดความชื้น โดยใช้หลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องมือนี้จะวัดได้ลึกถึง30เซนติเมตร ความชื้นที่กำหนดไว้ต้องไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์ มัดที่มีสิ่งแปลกปลอมจะมีธงสีแดงปักเอาไว้ จะต้องคัดแยกสิ่งแปลกปลอมโดยการทุบให้แตก แล้วแยกสิ่งแปลกปลอมออก ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร พลาสติก โลหะออกไป
4.นำกระดาษเข้าสู่ขั้นตอนการทำความสะอาด วิธีการคล้ายกับเครื่องปั่นผลไม้ เมื่อเศษกระดาษไหลลงสู่ถังตีเยื้อขนาดใหญ่ผสมกับน้ำ ถังนี้จะทำหน้าที่ตีเยื้อกระดาษชิ้นใหญ่ให้กลายเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วในถังจะมีเครื่องเกี่ยวสิ่งแปลกปลอม
5.จะได้นำเยื้อวัตถุดิบสำคัญในการผลิตกระดาษจะส่งน้ำเยื้อไหลตามท่อเข้าสู่ถังพัก แล้วเข้าสู่กระบวนการขึ้นรูปกระดาษ
6.การขึ้นรูปกระดาษมาผสมตามสูตรของโรรงาน ส่งเยื้อไปยังเครื่องขึ้นแผ่นกระดาษ จะได้กระดาษสีน้ำตาลเปียกๆ นำไปรีดน้ำออกออบด้วยลูกอบให้แห้ง ขัดผิวกระดาษให้นวล ม้วนเป็นกระดาษสีน้ำตาลม้วนใหญ่
7.จะมีเจ้าหน้าที่มาสุ่มตัวอย่างไปตรวจสอบคุณภาพความแข็งแรง จะตรวจสอบคุณภาพน้ำหนักความสวยงาม สี ความเรียบของกระดาษซึ่งมีผลในการพิมพ์ การตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้กับลูกค้าจะต้องควบคุมกระดาษทุกม้วนให้ได้ตามคุณภาพที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นจุดขายของกระดาษ
กระดาษที่ได้จะนำไปทำเป็นกล่องกระดาษ

การทำกล่องกระดาษจะใช้กระดาษ 2 ประเภทคือ กระดาษแผ่นเรียบและกระดาษแผ่นลอน
วิธีการทำ               
นำกระดาษที่จะทำลอนเข้าเครื่องทำลอน แล้วนำกระดาษแผ่นเรียบเข้าเครื่อง กระดาษทั้ง2ทั้งประเภทจะถูกนำมาประกบกันโดยใช้กาวเป็นตัวยึดติดให้อยู่ตัวทันที จากนั้นนำกระดาษแผ่นเรียบประกบอีกด้านหนึ่งก็จะได้กระดาษลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง จากนั้นก็จะนำไปขึ้นรูป พิมพ์ลาย ตรวจสอบคุณภาพด้วยสายตา ทดสอบความแข็งแรงของกล่องกระดาษ เศษกระดาษที่ถูกตัดออกจะถูกบีบอัดส่งขายให้โรงงานทำกระดาษอีกครั้ง กล่องกระดาษที่ได้ก็จะนำไปจำหน่ายเพื่อบรรจุสินค้า

กระดาษขาวดำ ที่แยกออกออกมา จากกระดาษจั๊บจั๊ว มีการตรวจวัดแยกสิ่งเจือปนสิ่งที่ไม่ต้องการออก
วิธีการทำกระดาษ
1.นำมาตีให้เยื้อกระจายออกจากกัน เติมสารเคมีประเภทแมชมพูเพื่อให้เกิดฟอง เติมอากาสให้เกิดฟอง เพื่อให้หมึกลอยมาบนผิวหน้าเพื่อจะได้ปาดออก
2.จะได้เยื้อน้ำไปสู่ขั้นตอนการผลิตกระดาษไม่ต่างจากการผลิตกระดาษทั่วไป นำออกจากโรงงานเพื่อทำเป็นกล่องกระดาษ

สรุป
กว่าจะเป็นกระดาษต้องใช้เทคโนโลยีทั้งแรงงานคน และต้นทุนในการผลิตกระดาษสูง คนไทยใช้กระดาษอย่างไม่คุ้มค่า ไม่รู้คุณค่าของกระดาษทำให้ต้องน้ำเข้ากระดาษที่ใช้แล้วจากต่างประเทศมารีไซเคิล แตกต่างจากต่างประเทศที่รู้คุณค่าของกระดาษ รู้จักแยกกระดาษออกจากขยะประเภทอื่นทำให้สามารถนำมารีไซเคิลได้ง่าย กระดาษสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่มีสิ้นสุด นี้คือแนวคิดที่เรียกว่า ?Paper never die กระดาษไม่มีวันตาย?

Cr:กบนอกกะลาตอน Paper never die กระดาษไม่มีวันตาย
เครดิต: บทความ
เขียนโดย AsaKiZe:JRMultimedia
อ้างอิง http://asakize09.blogspot.com/2012/02/paper-never-die.html 
 
Copyright © 2013-2015 V.N. COMMERCIAL2013 All Rights Reserved. 
Create by  all webeasy 
กรวยน้ำดื่ม, กระดาษชำระ, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, อุปกรณ์ทำความสะอาด